มีผู้ให้หลอดไฟแล้ว 2 หลอด
อารยะธรรม (Civilization) หมายถึง วัฒนธรรมที่มนุษย์ได้พัฒนาจนถึงขั้นสูงสุดจนเป็นที่ยอมรับในหมู่มนุษย์ด้วยกัน เราแบ่งอารยธรรมเป็นกลุ่มใหญ่ตามที่ราบลุ่มแม่น้ำ 4 กลุ่ม คือ 1. อารยธรรมที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ 2. อารยธรรมที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส 3. อารยธรรมลุ่มแม่น้ำเหลือง (ฮวงโห) 4. อารยธรรมที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ
- อารยธรรมที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ เกิดขึ้นบนดินแดนของอียิปต์ที่อุดมสมบูรณ์จนได้ชื่อว่า “ของขวัญของลุ่มแม่น้ำไนล์” ซึ่งมีผลงานที่สำคัญหลายด้าน ได้แก่ : -
- ด้านสถาปัตยกรรม คือ พีระมิดของกษัติรย์คูฟูหรือคีออปส์ที่ใช้คนงานสร้างถึง 100,000 คน
- ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เกิดวิชาคณิตศาสตร์และเรขาคณิต รู้จักการบวก ลบ หาร (ยังไม่รู้วิธีคูณ) การทำปฏิทิน
- ด้านการแพทย์ เกิดการเก็บศพในสุสานขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “มัมมี่” เกิดวิทยาการทางการแพทย์เช่น : -
จักษุแพทย์ ทันตแพทย์ ศัลยแพทย์
- ด้านการชลประทาน มีการขุดคลองส่งน้ำ เพื่อการชลประทานเชื่อมต่อแม่น้ำไนล์
- ด้านศาสนาและความเชื่อ เกิดเทพเจ้าหลายองค์ ได้แก่ เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์ เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ เทพเจ้าแห่งพืชพันธุ์ มีการจารึกบนกระดาษปาปิรุสหรือบนหีบศพเพื่อแสดงต่อเทพเจ้าโอสิริสที่เรียว่า “คัมภีร์มรณะ”
- ด้านอักษรศาสตร์ มีการเขียนอักษร “เฮียโรกริฟฟิค” มีตัวอักษรถึง 600 ตัว
- อารยธรรมที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส เกิดขึ้นบนบริเวณ “เมโสโปเตเมีย” ที่อุดมสมบูรณ์มีกลุ่มชนที่เข้าครอบครองบริเวณนี้ 3 กลุ่ม คือ 1. สุเมเรียน 2. ชนเผ่าเซไมท์ 3. อารยธรรมอินโด-ยุโรป
- สุเมเรียน เป็นชนชาติแรกที่ยึดครองบริเวณนี้ ประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์ม เทวสถานที่ชื่อ “ซิกกูแรต” และระบบชลประทาน
- ชนเผ่าเซไมท์ มีหลายกลุ่มที่ผลิตกันยึดครองเมโสโปเตเมีย
- อัคคาเดียน ผู้นำคือกษัตริย์ซากอน
- อามอไรท์ ผู้นำคือพระเจ้าฮัมมูราบี เกิดกฎหมายลักษณะตาต่อตาฟันต่อฟันที่เรียกว่ากฎหมาย ฮัมมูราบี
- อัสสิเรีย เป็นกลุ่มชนแรกที่ปกครองแบบจักรวรรดิ สร้างพระราชวังใหญ่โต มีการแกะสลักเป็นภาพเกี่ยวกับสงคราม การต่อสู้ ล่าสัตว์
- แคลเดีย ผู้นำที่มีชื่อเสียงคือกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ สร้างสิ่งมหัศจรรย์ที่มีชื่อเสียงคือสวนลอยแห่งบาบิโลน เชี่ยวชาญในเรื่องโหราศาสตร์และดาราศาสตร์
- ฟินิเซีย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเดินเรือทะเล ทำการค้าทางทะเล
- ฮิบรูว์ ผู้มีอิทธผลต่อชาวคริสต์ สร้างความเชื่อเรื่องพระเจ้าสร้างโลก น้ำจะท่วมโลก เกิด”พระคัมภีร์เก่า”
- อารยธรรมอินโด-ยูโรป มี 3 พวกคือ มีดส์ ลเดียน และเปอร์เซีย พวกเปอร์เซียมีบทบาทสำคัญ มีศาสนาคือโซโรแอสเตอร์ มีจักรพรรดิ “ดาริอุส” ที่มีชื่อเสียงจนมีฉายาว่า “กษัตริย์ของกษัตริย์” (King of Kings)
- อารยธรรมลุ่มแม่น้ำเหลือง (ฮวงโห) หรืออารยธรรมจีน ชนชาติจีนรู้จักการทำภาชนะดินเผาภาชนะสำริด รถศึก เลี้ยงไหมและทอผ้าไหม ทำปฏิทิน เริ่มยุคประวัติศาสตร์จากราชวงศ์ชาง (เฉีย) จนถึงราชวงศ์สุดท้าย คือราชวงศ์ชิง และเปลี่ยนการปกครองโดยระบบสาธารณรัฐมีประธานาธิบดีเป็นผู้นำ
- ราชวงศ์ชาง (เฉีย) เริ่มทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ เครื่องปั้นดินเผา ขีดเขียนบนกระดูกสัตว์ทำกระดาษจากไม้ไผ่ เครื่องสำริด และหยก
- ราชวงศ์โจว (จิว) มีนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงคือ ขงจื้อ เม่งจื้อ เล่าจื้อ (เต๋า) ยึดถือระบบศักดินาจำกัดสิทธิและความคิดของประชาชน
- ราชวงศ์จิ๋น สร้างกำแพงเมืองจีนเพื่อป้องกันการรุกรานจากศัตรู
- ราชวงศ์ฮั่น มีการสอบจอหงวน ค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า มีเมืองหลวงชื่อฮางอาน (ซีอาน) ขุดคลองเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับฮางอาน
- ราชวงศ์ถัง ยุคทองของจีนอยู่ในช่วงนี้ พระพุทธศาสนาแพร่เข้ามาในเมืองจีน เกิด”เส้นทางสายไหม” ทำการค้าขายไหมกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ราชวงศ์ซ้อง มีการรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม และผลิตเครื่องเคลือบสีเขียวไข่กา
- ราชวงศ์หยอน มีศิลปะแบบจีนผสมมองโกล
- ราชวงศ์หมิง ผลิตเครื่องลายครามมีลายเส้นหรือมังกรสีคราม และเครื่องเคลือบเป็นที่นิยมในยุโรป
- ราชวงศ์ชิง (เช็ง) เริ่มมีการเผชิญหน้ากับต่างชาติ เกิดศึกสงครามฝิ่นพ่ายแพ้จนต้องยอมยกฮ่องกงให้แก่ อังกฤษเช่าเป็นเวลา 99 ปี ต้องยอมยกสิทธิสภาพนอกอานาเขตในจีนให้ชาวต่างชาติยุคนี้นับเป็นราชวงศ์ สุดท้ายของจีน กษัตริย์ที่มีอำนาจมากคือ “พระนางซูสีไทเฮา”
- อารยธรรมที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ (อารยธรรมอินเดีย) มีกลุ่มอารยธรรมสำคัญ 4 กลุ่ม คือ : -1. อารยธรรมดราวิเดียน 2. อารยธรรมอินโด-อารยัน 3. ราชวงศ์คุปตะ 4. ราชวงศ์โมกุล
- 1. อารยธรรมดราวิเดียน มีการวางผังเมือง ตัดถนน สร้างป้อมปราการ และที่สร้างน้ำในพิธีกรรมทางศาสนาสร้างอาคารด้วยอิฐหรือดินเผา ดวงตรารูปสัตว์ รูปปั้นสำริดนางระบำมีกำไลแขนและข้อมือเมืองสำคัญคือ ฮารัปปาและโมเฮนโจดาโร
- อารยธรรมอินโด-อารยัน เป็นกลุ่มชนที่เข้ายึดครองอินเดียมีกษัตริย์ยิ่งใหญ่คือกษัตริย์ราชวงศ์เมารยะใช้หลักธรรมในการขยายดินแดนในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
- ราชวงศ์คุปตะ เจริญรุ่งเรืองที่สุดทางด้านการเมือง การปกครอง ปรัชญา ศาสนา และศิลปวิทยาการ การค้าขาย และความสัมพันธ์กับต่างประเทศ จัดเป็นยุคทองของอินเดีย
- ราชวงศ์โมกุล เป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย เป็นชนชาติมุสลิมเชื้อสายมองโกลเป็นการผสมผสานของฮินดูกับมุสลิม ตอนเหนือของอินเดียรับอิทธิผลเปอร์เซียใช้ภาษา “อูรดู” เป็นภาษาราชการ เกิดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกคือ “ทัชมาฮาล”
ผลงานอารยธรรมของอินเดีย มีหลายด้าน
- ด้านสถาปัตยกรรม บริเวณแม่น้ำสินธุคือซากเมืองฮารัปปา เมืองโมเฮนโจดาโรในสมัยราชวงศ์กุษณะเกิดศิลปะ 3 แบบ คือ แบบคันธาระ แบบมถุรา และแบบอมราวดี
- ด้านประติมากรรม ในสมัยราชวงศ์โมริยะเป็นภาพแกะสลักหินเกี่ยวกับชาดก
- ด้านจิตรกรรม มีความเจริญอย่างมากมายในสมัยคุปตะ
- นาฎศิลป์ ในด้านประกอบพิธีกรรมต่างๆ
- สังคีตศิลป์ ในด้านดนตรีและขับร้องประกอบพิธีกรรมต่างๆ
- วรรณกรรม เกี่ยวกับศาสนามี 4 ภาษา คือ ภาษาพระเวท ภาษาสันสกฤต ภาษาสันสกฤตผสมและภาษาอื่นๆ เกิดมหาภาพย์สำคัญคือ มหาภารตะ และรามายณะ