จุดประกายฝัน
ด้วย…ทุนรัฐบาล
การเดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศเป็นความใฝ่ฝันของหลาย ๆ คน สำนักงาน ก.พ. จึงเปิดโอกาสเติมเต็มความใฝ่ฝันให้กับผู้ที่มีความตั้งใจมุ่งมั่น ที่จะแสวงหาความรู้ เพื่อกลับมาเป็นหนึ่งในคนไทยที่กล้าท้าทายกับความเปลี่ยนแปลงของโลก พร้อมจะพัฒนาประเทศด้วยศักยภาพอันแข็งแกร่งด้วยสมองอันชาญฉลาด และด้วยใจที่ตั้งมั่น
“การศึกษาของคน”
เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาศักยภาพ
ของประเทศให้เจริญก้าวหน้า”
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงตระหนักว่า “การศึกษาของคนเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของประเทศให้เจริญก้าวหน้า” การมอบทุนการศึกษาต่างประเทศ จึงเริ่มมาตั้งสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และไดรับการพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงหรือที่เรียกว่า ทุน King ขึ้งเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ทุนเล่าเรียนหลวง
เป็นทุนมอบให้นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเดินทางไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ สำนักงาน ก.พ. ทำหน้าที่จัดสรรทุนดังกล่าว ปีละ 9 ทุน โดยไม่จำกัดประเทศและสาขาวิชา แต่ต้องกลับมาทำงานที่ประเทศไทยเป็นจำนวนปีเท่ากับท่เดินทางไปศึกษษต่อ แต่ไม่จำเป็นต้องเข้ารับราชการ
ปัจจุบันนอกจากทุนเล่าเรียนหลวง ยังมีทุนรัฐบาลที่จัดสรรจากเงินงบประมาณแผ่นดินให้ไปศึกษาวิชาต่างประเทศในระดับมัธยมศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยมีข้อผูกพันให้กลับมาปฏิบัติงานในส่วนราชการที่กำหนดเป็นระยะเวลา 2 เท่าของจำนวนปีที่แล้ว โดยไปศึกษาสาขาวิชาและประเทศตามความต้องการของส่วนราชการตามโครงการหรือแผนงานซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
การมอบทุนการเล่าเรียนหลวงและทุนรัฐบาลให้กับผู้มีความรู้ความสามารถไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ มีความมุ่งหมายเพื่อให้ผู้รับทุนได้เก็บเกี่ยววิชาความรู้ที่ไม่มีสอนในประเทศไทยหรือมีแต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของทางราชการ และเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ประเพณีวัฒนธรรมของประเทศที่ไปศึกษา แล้วนำเอาความรู้ที่ได้รับกลับมาพัฒนาส่วนราชการและประเทศชาติให้มีศักยภาพและเป็นหนึ่งในเวทีโลก
มารู้จักกับทุนแต่ละประเภท
ที่สำนักงาน ก.พ. ดำเนินการสอบ
สำนักงาน ก.พ. ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรงกับทุนประเภทต่าง ๆ ประกอบด้วย ทุนเล่าเรียนหลวง
ทุนระดับมัธยมศึกษา
- ทุนรัฐบาล ก.พ. (ม.3)
- ทุนไทยพัฒน์ (ม.6)
- ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ม.6)
- ทุนกระทรวงการต่างประเทศ (ม.6)
ทุนระดับปริญญา
- ทุนตามความต้องการของส่วนราชการ
- ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทุนประเภทอื่น ๆ
- ทุนสำหรับผู้ชนะการประกวดผลงานในระดับประเทศ หรือระดับนานาชาติ
- ทุนเพื่อสนับสนุนการศึกษาของคนพิการ
ทุนความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ
- (ทุนความร่วมมือกับ Imperial College London)
คุณสมบัติและหลักสูตรการสอบของผู้ที่จะสมัครทุน ก.พ. แต่ละประเภทมีอะไรบ้าง
1.ทุนระดับมัธยมศึกษา ต้องเป็นนักเรียนที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
- กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อายุไม่เกิน 18 ปี หรือมัธยมศึกษาปีที่ 6 อายุไม่เกิน 20 ปี
- GPA ไม่ต่ำกว่า 3.50
• ทุนเล่าเรียนหลวง ต้องสอบข้อเขียน 5 วิชา เป็นวิชาทั่วไป 3 วิชา คือ ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา และภาษาไทย เป็นวิชาเฉพาะ 2 วิชา คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ write หรือ writing translation หลังจากสอบผ่านข้อเขียนแล้วจึงประเมินความเหาะสมในการรับทุน
• ทุนไทยพัฒน์ และทุนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สอบ 2 หรือ 4 วิชา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมและภาษาไทย หลังจากสอบผ่านข้อเขียนแล้วจึงประเมินความเหมาะสม
2.ทุนระดับปริญญา
เป็นทุนที่กำหนดให้ไปศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ตามที่ส่วนราชการต้องการ โดยไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท หรือโท-เอก หรือเอก ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
• ทุนปริญญาโท หรือ ปริญญาโท-เอก ต้องกำลังศึกษาปีสุดท้ายของปริญญาตรี หรือจบปริญญาตรี อายุไม่เกิน 35 ปี GPA ตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 3 (ยกเว้นวุฒิวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ แพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ มี GPA ตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.75)
• ทุนปริญญาเอก ต้องจบปริญญาโทอายุไม่เกิน 40 ปี GPA ไม่ต่ำกว่า 3.50 การสอบทุนระดับปริญญาเป็นการสอบวิชาภาษาอังกฤษไก้แก่ Vocabulary and Expression, Error Recognlion Reading Compression และวิชาความสามรถทั่วไปเชิงวิชาการ โดยทดสอบความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลและการใช้เหตุผล หลังจากสอบผ่านข้อเขียนแล้ว จึงประเมินความเหมาะสมในการรับทุน
3.ทุนประเภทอื่นๆ
เป็นทุนที่จัดสรรให้บุคคลเฉพาะกลุ่ม เช่น ทุนสำหรับผู้ชนะการประกวดผลงานในระดับประเทศ หรือระดับนานาชาติ ทุนเพื่อสนับสนุนการศึกษาของคนพิการ เป็นต้น โดยผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
3.1 ทุนสำหรับผู้ชนะการประกวดผลงานในระดับประเทศหรือระดับนานาชาติ จะต้องเป็นผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศหรือรองชนะเลิศในการประกวดผลงานในระเดับประเทศหรือระดับนานาชาติ โดยได้รับรางวัลย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี
3.2 ทุนเพื่อสนับสนุนการศึกษาของคนพิการ จะต้องเป็นผู้พิการทางการเงิน หรือพิการทางการได้ยิน หรือพิการทางร่ายกาย/การเคลื่อนไหว
4.ทุนความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ
เป็นทุนความร่วมมือทางการศึกษากับสถาบันที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ ได้แก่ ทุนความร่วมมือกับ Imperial College London ระดับปริญญาเอก สาขา Biomedical Engineering เป็นต้น โดยผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติ เช่นเดียวกับทุนระดับปริญญา และต้องมีผลภาษาอังกฤษ TOEFL หรือ IELTS ตามเกณฑ์กำหนด
การรับเงินทุน
ผู้ที่ได้รับทุนจะได้รับเงินทุนเมื่อทำสัญญาเรียบร้อยแล้ว โดยจะได้รับค่าใช้จ่าย เช่น ค่าบัตรโดยสารเครื่องบินไป-กลับ ค่าใช้จ่ายเตรียมตัวก่อนเดินทาง ค่าใช้จ่ายประจำเดือน ค่าเล่าเรียน ค่าหนังสืออุปกรณ์ทางการศึกษา ค่าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ติดตามข่าวสารทุนรัฐบาลได้ที่ไหน?
ปัจจุบันนี้ ระบบการศึกษาที่ทันสมัยทำให้นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป สามารถติดตามข่าวสารการเปิดรับสมัครบุคคลระดับต่างๆ สอบชิงทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ ได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
สำนักงาน ก.พ. เปิดช่องทางการติดต่อด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้
• ทางอินเทอร์เน็ต เข้าที่เว็บไซต์ www.ocsc.go.th
• ศูนย์ข่าวการสอบ สำนักงาน ก.พ. เขตดุสิต ถนนพิษณุโลก กทม.
• ศูนย์ข่าว สำนักงาน ก.พ. จังหวัดนนทบุรี
• ศูนย์แนะแนวการศึกษาและข่าวสาร ก.พ. โทร. 1786
• ศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ สำนักงาน ก.พ. สยามสแควร์ ซอย 7 โทรศัพท์ 0 2252 9737, 0 2252 9733
รายละเอียดเพิ่มเติมหาได้ที่การศึกษาอัพเกรดทุกวันศุกร์ตามแผงหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ